วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556

งานการศึกษาอาชีพ


งานด้านอาชีพ
กศน.ตำบลบ้านกลางในปีงบประมาณ 2556  ทำได้  จำนวน 3 กลุ่ม
1. กลุ่มถักโครเซต์ หมู่ที่ 18 ตำบลบ้านกลาง



หลักสูตร  การซ่อมคอมพิวเตอร์
จำนวน 120 ชั่วโมง
กลุ่มวิชาอาชีพอำนวยการและอาชีพเฉพาะทาง

ความเป็นมา
                การจัดการศึกษาอาชีพในปัจจุบันมีความสำคัญมาก เพราะจะเป็นการพัฒนาประชากรของประเทศให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพ เป็นการแก้ปัญหาการว่างงานและส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดยุทธศาสตร์ 2555 ภายใต้กรอบเวลา 2 ปี ที่จะพัฒนา 5 ศักยภาพของพื้นที่ใน 5 กลุ่มอาชีพใหม่ คือ กลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มพาณิชยกรรม กลุ่มเกษตรกรรม กลุ่มความคิดสร้างสรรค์ กลุ่มอำนวยการและอาชีพเฉพาะทาง  ให้สามารถแข่งขันได้ใน 5 ภูมิภาคหลักของโลก “รู้เขา รู้เรา เท่าทัน เพื่อแข่งขันได้ในเวทีโลก” ตลอดจนกำหนดภารกิจที่จะยกระดับการจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถให้ประชาชนได้มีอาชีพที่สร้างรายได้ที่มั่นคง โดยเน้นการบูรณาการให้สอดคล้องกับศักยภาพด้านต่าง ๆ มุ่งพัฒนาคนไทยให้ได้รับการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพและการมีงานทำอย่างมีคุณภาพทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ประชาชนมีรายได้มั่นคง และมีงานทำที่ยั่งยืน มีความสามารถเชิงการแข่งขันทั้งในระดับภูมิภาคอาเซียนและระดับสากล ซึ่งจะเป็นการจัดการศึกษาตลอดชีวิตในรูปแบบใหม่ที่สร้างความมั่นคงให้แก่ประชาชนและประเทศชาติ
                ปัจจุบันเทคโนโลยีได้ก้าวเข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตของมนุษย์มากขึ้น  การใช้คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวันมีการเติบโตและขยายตัวกว้างอย่างไม่มีที่สิ้นสุด  เห็นได้จากการใช้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลักในการทำงานขององค์กรในทุกระดับ  รวมถึงเครือข่ายสังคมออนไลน์ทางอินเตอร์เน็ต  (Social Network)  ที่มีบทบาทสำคัญในการดำเนินชีวิตในปัจจุบันอย่างมาก  ในขณะที่ปริมาณการใช้คอมพิวเตอร์มีมากขึ้นตามลำดับ  ทำให้ในปัจจุบันความต้องการบุคลากรด้านคอมพิวเตอร์หรือช่างที่ชำนาญงานและมีประสบการณ์ในการดูแลรักษาคอมพิวเตอร์อย่างถูกวิธี  การซ่อมแซมและการอัพเกรดที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน  รวมถึงการประยุกต์ใช้งานสำเร็จรูปต่าง ๆ ก็มีมากขึ้นตามลำดับ  ดังนั้น ธุรกิจด้านงานบริการคอมพิวเตอร์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการสร้างรายได้  โดยการบูรณาการจากภูมิความรู้และการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้มาสร้างสรรค์งานอาชีพทางคอมพิวเตอร์ขึ้น



 หลักสูตร  การซ่อมคอมพิวเตอร์
จำนวน 120 ชั่วโมง
กลุ่มวิชาอาชีพอำนวยการและอาชีพเฉพาะทาง

หลักการของหลักสูตร
                การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาอาชีพเพื่อการมีงานทำ กำหนดหลักการไว้ดังนี้
                1. เป็นหลักสูตรที่เน้นการบูรณาการให้สอดคล้องกับศักยภาพด้านต่างๆ 5 ด้าน ได้แก่ศักยภาพทรัพยากรธรรมชาติในแต่ละพื้นที่ ศักยภาพของพื้นที่ตามลักษณะภูมิอากาศ ศักยภาพของภูมิประเทศ และทำเลที่ตั้งของแต่ละประเทศ ศักยภาพของศิลปะ วัฒนธรรมประเพณีและวิถีชีวิตของแต่ละพื้นที่และศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละพื้นที่
                2. มุ่งพัฒนาคนไทยให้ได้รับการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพและการมีงานทำอย่างมีคุณภาพทั่วถึงและเท่าเทียมกัน สร้างรายได้ที่มั่นคง และเป็นบุคคลที่มีวินัยเปี่ยมได้ด้วยคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่นและสังคม
                3. ส่งเสริมให้มีความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่าย
                4. เน้นการฝึกปฏิบัติจริงเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำไปประกอบอาชีพให้เกิดรายได้ที่มั่นคง และยั่งยืนในอาชีพ ส่งเสริมให้มีการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์เข้าสู่หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

จุดหมาย
                1. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะความรู้ ความเข้าใจ ความชำนาญด้านการตรวจซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้
                2.  เพื่อลดอัตราการว่างงาน เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับการประกอบอาชีพในชุมชน

กลุ่มเป้าหมาย
                กลุ่มเป้าหมาย คือประชาชนกลุ่มเป้าหมายนอกระบบโรงเรียน
                1.  ผู้ที่ไม่มีอาชีพ
                2.  ผู้ที่มีอาชีพและต้องการพัฒนาอาชีพ

ระยะเวลาเรียน   รวม  120 ชั่วโมง แบ่งเป็น
                ภาคทฤษฎี            จำนวน    30       ชั่วโมง
                ภาคปฏิบัติ             จำนวน     90         ชั่วโมง  




โครงสร้างหลักสูตร
                1. ช่องทางการประกอบอาชีพการซ่อมคอมพิวเตอร์
              1.1 ความสำคัญในการประกอบอาชีพการซ่อมคอมพิวเตอร์                  จำนวน  2  ชั่วโมง
              1.2 ความเป็นไปได้ในประกอบอาชีพการซ่อมคอมพิวเตอร์                   จำนวน  2  ชั่วโมง
        1.2.1 การวางแผนและบริหารจัดการ
                       1.2.2 คุณสมบัติและทักษะที่จำเป็นของผู้ประกอบอาชีพ
                        1.2.3 แหล่งเงินทุนและการจัดหาเงินทุน
                                        1.2.4 การเลือกทำเลที่ตั้ง
        1.2.5 การจัดหาวัสดุ อุปกรณ์
             1.3 ศึกษาหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง                                          จำนวน  5 ชั่วโมง
                       1.3.1 สถานประกอบการอินเตอร์เน็ต
                       1.3.2 ร้านขายอุปกรณ์ และซอฟแวร์คอมพิวเตอร์
                       1.3.3 บริษัทผู้แทนจำหน่ายสินค้าคอมพิวเตอร์
                       1.3.4 ร้านซ่อมคอมพิวเตอร์
              1.4 ทิศทางการประกอบอาชีพ                                                                      จำนวน  5  ชั่วโมง
                       1.4.1 ความต้องการของตลาด
                       1.4.2 ประสบการณ์และความชำนาญ
                       1.4.3 สถานประกอบการตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ
                2. ทักษะการประกอบอาชีพการซ่อมคอมพิวเตอร์                      
                                2.1 ความรู้พื้นฐานคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง                                   จำนวน  64  ชั่วโมง
      2.1.1 หลักการทำงานและส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
      2.1.2 การถอดและประกอบชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์
      2.1.3 วิธีการติดตั้งระบบปฏิบัติการและการดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์
      2.1.4 หลักการทำงานของปริ้นเตอร์และวิธีการซ่อมบำรุง
      2.1.5 การป้องกันและการกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์
      2.1.6 เทคนิคการกู้ข้อมูล
      2.1.7 อาการเสียและเทคนิคการซ่อมอย่างมืออาชีพ
 2.1.8 การติดตั้งระบบแลนการเลือกใช้และการติดตั้งระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
2.2 การดำเนินธุรกิจซ่อมคอมพิวเตอร์                                                          จำนวน  20  ชั่วโมง
2.2.1 นักบริหารและจัดการธุรกิจคอมพิวเตอร์
2.2.2 คุณธรรมและจรรยาบรรณของช่าง
2.2.3 หลักการให้บริการและการขายอย่างมืออาชีพ
2.2.4 เทคนิคการซ่อม ตรวจเช็ค อัพเกรด เครื่องคอมพิวเตอร์และปริ๊นเตอร์
2.2.5 กฎหมายที่เกี่ยวข้องและการจดทะเบียนการค้าเพื่อประกอบธุรกิจ       
                3. การบริหารจัดการในการประกอบอาชีพ                                                    จำนวน  10  ชั่วโมง
                               การบริหารจัดการอาชีพการซ่อมคอมพิวเตอร์
3.1 ประชาสัมพันธ์
3.2 การจัดทำข้อมูลลูกค้า
3.3 การวางแผนการตลาด
3.4 การบริการหลังการขาย
3.5 ปัญหาอุปสรรคและวิธีแก้ไข
                                3.6 การจัดการความเสี่ยงของอาชีพ
                                3.7 วิเคราะห์ต้นทุน/ผลกำไร
3.8 วิเคราะห์ราคาสินค้าและบริการ
3.9 วิเคราะห์คู่แข่งทางการตลาด
                                3.10 ประเมินผลการประกอบอาชีพ
                4. โครงการประกอบอาชีพ                                                                                              จำนวน  12  ชั่วโมง
                                4.1 ความสำคัญของโครงการอาชีพ
                                4.2 ประโยชน์ของโครงการอาชีพ
                                4.3 องค์ประกอบของโครงการอาชีพ
                                4.4 การเขียนโครงการอาชีพ
4.5 การประเมินความเหมาะสมและสอดคล้องของโครงการ

การจัดกระบวนการเรียนรู้
1.             ฟังวิทยากรบรรยายให้ความรู้
2.             ศึกษาจากใบความรู้ฟังการบรรยายจากวิทยากร และของจริง
3.             สาธิตการทำเป็นขั้นตอนจากวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญ
4.             ทำใบความรู้และใบงาน
5.             บันทึกผลการปฏิบัติงานจริงที่ละขั้นตอน
6.             ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อ CD/VCD และอินเตอร์เน็ต
7.             ให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติจริงและทดสอบผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้
8.             ฝึกประสบการณ์จากสถานประกอบการด้านคอมพิวเตอร์
9.             สร้างสถานการณ์จำลองให้ผู้เรียนฝึกแก้ปัญหาหลากหลายรูปแบบ
10.      ร่วมกันสรุปทบทวนความเข้าใจ

สื่อการเรียนรู้
1.             เอกสารประกอบ/ใบความรู้/แบบทดสอบ
2.             เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพวง
3.             ภูมิปัญญาท้องถิ่น
4.             นิตยสาร /วารสาร/หนังสือพิมพ์/สิ่งพิมพ์
5.             สื่อมัลติมีเดีย /CD/VCD/DVD
6.             สื่อทางอินเตอร์เน็ต
7.             สถานประกอบการ

การวัดและประเมินผล
1.             การประเมินความรู้ภาคทฤษฏีระหว่างเรียนและจบหลักสูตร
2.             การประเมินผลงานระหว่างเรียนจากการปฏิบัติ ได้ผลงานที่มีคุณภาพสามารถสร้างรายได้ และจบหลักสูตร

การจบหลักสูตร
1.             มีเวลาเรียนและฝึกปฏิบัติตามหลักสูตร ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
2.             มีผลการประเมินผ่านตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
3.             มีผลงานซ่อมคอมพิวเตอร์ที่ได้มาตรฐานเป็นที่พึงพอใจของลูกค้า อย่างน้อย  10  คน  และผ่านการทำแผนธุรกิจจึงจะได้รับวุฒิบัตร

เอกสารหลักฐานการศึกษา
1.             หลักฐานการประเมินผล
2.             ทะเบียนคุมวุฒิบัตร
3.             วุฒิบัตร ออกโดยสถานศึกษา

การเทียบโอน
                ผู้เรียนที่จบหลักสูตรนี้สามารถนำไปเทียบโอนผลการเรียนรู้กับหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในสาระการประกอบอาชีพวิชาเลือกที่สถานศึกษาได้จัดทำขึ้น























วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556

ออกหน่วยเคลื่อนที่


ร่วมกิจกรรมออกหน่วยเคลื่อนที่บริการประชาชนตำบลบ้านติ้ว



ร่วมกิจกรรมออกหน่วยเคลื่อนที่บริการประชาชนตำบลน้ำชุน

งานทักษะชีวิต


โครงการทักษะชีวตธรรมมะในชีวิตประจำวัน


ครูกศน.ตำบลบ้านกลางกล่าวรายงานการจัดโครงการ
ฝึกปฏิบัติ



การพบกลุ่มนักศึกษาพื้นฐานและงานเทียบระดับ

กศน.ตำบลบ้านกลาง

งานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1.งานพื้นฐาน นักศึกษาทั้งหมด 81 คน
    ระดับม.ต้น จำนวน 32 คน
     ระดับม.ปลาย จำนวน 49 คน

2.งานเทียบระดับปีการศึกษา2555 มี 4 รุ่น บ้านกลางทำได้ 8 คน
สัมภาษณ์นักศึกษาเทียบระดับมิติประสบการณ์


วันอังคารที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2556

งานเศรษฐกิจพอเพียง


งานเศรษฐกิจพอเพียง

กศน.ตำบลบ้านกลางจัดกิจกรรมด้านเศรษฐกิจพอเพียงในปีงบประมาณ 2556 จำนวน 2 โครงการ

1. โครงการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 10 ตำบลบ้านกลาง





2.โครงการทำไม้กวาดดอกหญ้า  ณ  หมู่ที่ 12 ตำบลบ้านกลาง